คุณกำลังค้นหา วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2 หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นโปรดดูที่นี่.

Well-Being | EP.2 – ทำอย่างไรเมื่อชีวิตคู่มาถึงทางตัน | Mahidol Channel PODCAST – วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2.



ความรักเป็นสิ่งสวยงามแต่ในชีวิตจริงไม่เรียบง่ายอย่างที่คิดเพราะมีหลาย ๆ ปัจจัยที่อาจทำให้ชีวิตคู่ต้องจบลง เช่น ทัศนคติ ค่านิยม เศรษฐฐานะ หน้าที่การงาน เซ็กส์ แล้วในบางคู่ที่มีสมการเพิ่มขึ้นมาก็คือ”ลูก”เราจะบอกกับลูกอย่างไรให้ลูกเข้าใจเพราะในบางครั้งการแยกทางกันอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ณ สถานการณ์นั้น ๆ

Mahidol Channel Podcast รายการ Well Being สุขภาพดี ชีวิตดีสร้างได้ ได้รวบรวมคำแนะนำดีๆไว้ในตอนนี้แล้ว ดำเนินรายการโดย อาจารย์เต้ อ.ดร.ระพี บุญเปลื้อง และแขกรับเชิญ หมอหลิว อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข
อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

___________________

#WellBeing
#MahidolChannelPODCAST
#MahidolChannel

––––––––––––––––––––
📌ช่องทางการฟัง Mahidol Channel Podcast

Blockdit:
Spotify:
Anchor:
Soundcloud:

––––––––––––––––––––
YouTube:
Facebook:
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล:
Website |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล | .

คุณดู วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2 เสร็จแล้ว หากต้องการดูข้อมูลเพลงเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่นี่: Popasia.net.
คุณสามารถค้นหาเพลงดีๆเกี่ยวกับชีวิตได้ที่นี่: ดูเพิ่มเติมที่นี่

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2.

Mahidol,University,มหาวิทยาลัยมหิดล,Channel,MahidolChannel,มหิดล,ม.มหิดล,ทีวี,มหาวิทยาลัย,MU,DeScience,Science,Change,ศิริราช360องศา,เล็กๆเปลี่ยนโลก,AnimalsSpeak,ฉายแวว,Click,Addfriends,MUlink,วิทยาศาสตร์,แพทย์,แพทยศาสตร์,เภสัชกร,สัตวแพทย์,วิศวกรรม,วิทยาลัยนานาชาติ,วิทยาลัยดุริยางคศิลป์,ดนตรี,art,ภาษา,ประเทศไทย,english,ยาหมอบอก,Healthy,healthfriday,สุขภาพ,32services,การศึกษา,health,ศิริราช,รามา,ปัญญาของแผ่นดิน,หาหมอที่ไหนดี.

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2.

 วิชา การเงิน เพื่อ ชีวิต 2

ขอแสดงความนับถือ.

7 thoughts on “Well-Being | EP.2 – ทำอย่างไรเมื่อชีวิตคู่มาถึงทางตัน | Mahidol Channel PODCAST – เพื่อชีวิต

  1. บั๊บ อ่านมาเล่า says:

    ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างชีวิตคู่ที่อบอุ่น เพราะมันเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้มากขึ้น เมื่อเข้าใจกันมากขึ้น ก็จะ "ร่วมสุข" และ "ร่วมทุกข์" ด้วยกันตลอดทางที่เดินไปด้วยกัน

    การสื่อสารไม่ใช่ข้าวกล่องแช่แข็ง อุ่นร้อนในไมโครเวฟแบบด่วน ๆ ก็พร้อมเสริฟแล้ว ยิ่งร้อนใจมีเรื่องอยากพูด ยิ่งต้องใจเย็นและให้เวลา เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่เราจะพูดออกไปทั้ง 10 ที่อยากพูด โดยไม่ประเมินว่าคนฟังเข้าพร้อมรับแค่ 2 และตั้งแต่ 3 – 10 ที่เราพูดไป ล้วนแล้วไม่เหมาะสมกับเวลา

    พูดเกินไป เขาก็ไม่ได้ยินอยู่ดี สิ่งที่เราต้องการสื่อ วิธีที่เราสื่อ สิ่งที่เขาได้ยิน และสิ่งที่เขาคิดว่าเราต้องการจะสื่อ ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ตรงกันเลย และเป็นที่มาของความเข้าใจผิด ยิ่งมีเรื่องในใจที่อยากจะพูดมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องเริ่มต้นจากการฟังให้มากเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการฟัง จะเป็นการเตรียมความพร้อม ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา

    ก่อนที่เราจะเริ่มต้นพูด เมื่อเขามั่นใจว่าเราเข้าใจเขา เขาก็จะเริ่มเปิดกว้างและพร้อมรับฟังมากขึ้น เพราะเขารู้แล้วว่า เราเริ่มต้นพูด จากจุดที่เราเข้าใจเขาแล้ว หมั่นถามตัวเอง ว่าเรามีทักษะการฟังมากแค่ไหน? เราฟังเขาพูดในขณะที่ตามองมือถือ หรือว่าเราสบตาเขา? ทำได้มั้ยที่จะไม่ถามแทรกและจดคำถามไว้ในใจก่อน เพื่อจะไม่ขัดจังหวะการเล่าเรื่องของเขา เพื่อป้องกันการที่เขาถูกขัดจังหวะและอาจจะลืมว่าต้องการจะพูดอะไรเพิ่มเติม เราแทรกขึ้นมากลางคันแบบคนที่ "รู้ทุกเรื่อง" รึเปล่า?

    เราเสนอทางออกของปัญหาให้เขา โดยคิดว่าเราเข้าใจเรื่องทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่เขายังเล่าไม่จบรึเปล่า? เราแน่ใจแล้วหรือว่าที่เราเห็น มันไม่ใช่เพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง และฐานที่ใหญ่กว่ามากที่อยู่ใต้น้ำเราอาจจะยังไม่เห็นก็เป็นได้ เราถามเขาด้วยคำถามปลายปิด หรือคำถามปลายเปิด? คำตอบของเขาว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ กับคำตอบที่บรรยายความรู้สึกของเขา แบบไหนจะให้ข้อมูลเราได้มากกว่ากัน? เราได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมารึเปล่า? สีหน้า แววตา น้ำเสียง ภาษากาย เราได้ "ฟัง" สิ่งเหล่านั้นด้วยรึเปล่า หรือว่าเราไม่เคยสังเกต?

    การฟังแบ่งเป็นสองช่วง คือฟังเพื่อเข้าใจ และเมื่อเข้าใจแล้วจึงช่วยคิดและสอบทานเพื่อหาคำตอบ ซึ่งคำตอบสุดท้ายจะต้องออกมาจากเขาเอง ไม่ใช่เราเป็นคนบอก เพราะเราไม่สามารถทำให้ใครอยากทำอะไรได้ ถ้าตัวเขาเองไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น คำตอบที่ใช่ มันต้องใช่สำหรับเขา คำตอบที่ใช่สำหรับเรา แต่ไม่ใช่สำหรับเขา มันก็ไม่ใช่อยู่ดี ความรักดี ๆ มีได้ด้วยความเข้าใจ เรามาเริ่มต้นด้วยกันพัฒนาทักษะการฟังของเรากันเถอะครับ

  2. Lee Pharm says:

    ผู้ชาย ที่มีความรับผิดชอบ หายากมากๆๆๆค่ะ รอบๆตัวเพื่อน ที่มีสามี ได้แต่ ขยะ มาทั้งนั้น เพื่อนๆ ผญ 10 คน ได้ ขยะ ภาระ มาเป็น สามี 40-50%เลย ค่ะ ผญ จะเลือกสามี ต้องดูให้รอบด้านนะคะ อย่าเอาอารมณ์อย่างเดียว ค่ะ สุดท้าย ความรัก ต้องใช้สมอง และ สติ

  3. paveentip jaroolhirun says:

    เรื่องหน้าที่ของความเป็นพ่อเป็นแม่หลังหย่าหรือเลิกรากันเหรอ? หน้าที่แม่ยังคงมี แต่หน้าที่พ่อเหรอ ฝันเอาเถอะ หาไม่เจอหรอกในสังคมไทย ซ้ำร้ายยังทำร้าย ด้วยการเอาคนอื่นกลับมาเหยียบย่ำเมียเก่าและลูกอีกด้วย ดูได้จากสังคมที่เห็นทุกวันนี้

  4. Nantawat Phetnamthongwattana says:

    ผมมองต่างออกไปครับ
    "ชีวิตคู่ไม่ควรทน"
    ผมมองว่า 100% ของการหย่าร้าง เกิดจาก มือที่ 3 ครับ
    ซึ่งมือที่ 3 นี้ไม่ได้หมายถึง ชู้อย่างเดียว แต่หมายถึง ญาติ เพื่อน และ คนอื่นที่ ทั้งคู่ปล่อยเ
    ให้เข้ามาในชีวิต เช่น พ่อ แม่ ป้า น้า เพื่อน เพื่อที่ทำงาน เพื่อนบ้าน
    เพราะ ถ้าหากเกิด conflict แล้วมีมือ ที่ 3 คอย สนับสนุนแม้กระทั่ง เป็นที่ปรึกษาให้ มันมักจะทำให้ประเด็นเล็กๆเข้มขึ้นๆ และกลายเป็นปัญหาในที่สุด เช่นเรื่อง เรื่องหนึ่ง คนสองคนเค้าคุยกันเค้า OK แต่พอมี คนอื่นมา comment จากที่ไม่เคยคิด ก็คิด นานๆวันไปกลายเป็น พอมีประเด็นเล็กๆน้อยๆ เสียง commemt จากคนอื่นวันนั้น กลับตีขึ้นมาสนับสนุนความคิดแง่ลบทันที

    นี่ยังไม่นับ การมีคนอื่นใกล้ตัวให้ปรักษามันจะทำให้ลดการสื่อสารตรงไป ก่อให้เกิดปัญหาแน่นอน ทางที่ดีหากมีเรื่องที่ต้องการระบาย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถดีกว่า เช่น นักจิตวิทยาปรึกษา พระ เป็นต้น

    คนที่ห้ามเด็ดขาดคือ 1.พี่น้อง 2.เพื่อน 3.พ่อ – แม่ 4. ญาติ 5. อาจาร์ย 6. เพื่อนบ้าน 7. เพื่อนร่วมงาน
    เพราะคนพวกนี้ยังไงเค้าก็เข้าข้างคุณ 100% อยู่แล้ว ยิ่งคุณมาด้วยความคิดลบ
    เค้ามีแต่จะขยายความแย่นั้น
    ด้วยการพูดว่า " ต้องอดทน" "ต้องเข้าใจ" ต้องทนเพื่อหน้าตาทางสังคม เพื่อลูก เพื่อเงินนะ โดยที่ไม่มุ่งแก้ไขหรือสวนเรื่องที่เป็นประเด็น
    มันจะทำให้ผู้ที่ปรักษาเกิดความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เค้าประสบอยู่ คือเรื่อ่งจริง แค่ว่า เราต้องทน แค่นั้นซึ่งสักวันมันจะเดินทางมาถึงจุดที่ทนไม่ไหว นั่นแย่มาก และที่แย่ที่สุดคือ คนพวกนั้น มีแต่เจตนาที่ดี แต่ไร้ปัญญา เค้าจะพาให้ทุกอย่างแย่ลงๆ

    คนที่จะให้คำปรึกษาคุณได้ จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติ 2 อย่างนี้พร้อมกัน อย่างมาก คือ
    เป็นกลาง และ มีปัญญามากพอ ต้องมีทั้ง2อย่างครบ
    คนที่เป็นกลางจะไม่พูดจาเอาใจ จะมองจากมุมมองภายนอก ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายไหน
    ส่วนปัญญาคือการวิเคราะห์ว่าประเด็นที่เป็น แก้ไขอย่างไร เกิดจากอะไร! มันเป็นการตีประเด็นให้แตกออกไม่ใช่หมกเอาไว้

    กลับไปที่ข้อความที่ผมจั่วหัวไว้ตอนแรก

    "ชีวิตคู่ไม่ใช่การทนแต่คือเข้าใจในการกระทำของอีกฝ่ายและอยู่ร่วมกันสนับสนุน กัน"

  5. อุทัย วงละคร says:

    ผมเห็นแม่สามีที่แต่งลูกสะใภ้เข้าบ้าน เขาทำตัวเป็นแม่เป็นเพื่อนให้ความรักเหมือนลูกตัวเอง ให้ความสำคัญให้เกียรติ แล้วมีลูก ชีวิตคุ่ลงตัวอย่างดีมากเลยเพราะแม่คอยประคองการสร้างครอบครัว ธุรกิจของครอบครัว มีลูกสะใภ้เป็นฝ่ายบัญชี ลูกชายเป็นผู้อำนวยการๆจัดการ ก็เจริญขึ้นๆใหญ่โตแล้วนะครับ.

ใส่ความเห็น