คุณกำลังค้นหา เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นโปรดดูที่นี่.

พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ตอน จุดกำเนิดเกิด ชาย เมืองสิงห์ – เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย.



พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ตอน จุดกำเนิดเกิด ชาย เมืองสิงห์

รายละเอียดจากพิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง – ผมถือว่าเป็นหน้าที่ของผมเลยนะครับที่จะพิสูจน์และค้นคว้าหาที่มาที่ไปพร้อมทั้งถ้าเป็นไปได้ก็แสดงหลักฐานข้อมูลให้มันกระจ่างแจ้งไปเลย อย่างน้อยๆ จะได้มิใช่เป็นเพียงคำพูดลอยๆ เท่านั้น มีบันทึกหลักฐานสถานที่จริงในบางเรื่อง ตัวตนฅนในประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ หากสอบถามได้บันทึกความจำได้ก็รีบๆ ทำเข้าไว้ เพราะหากแหล่งข้อมูลเหล่านี้จากไปแล้ว จะไปถามหาอะไรที่ไหนได้

คอลัมน์นี้ของผมจึงมุ่งเน้นไปในแนวทางนี้ครับ วันนี้ก็เช่นกัน ผมได้ยินเรื่องเล่าเรื่องที่มาที่ไป จุดกำเนิดเกิด ชาย เมืองสิงห์ มานานมากแล้ว แต่ก็เป็นเพียงฅนนั้นเล่าที ฅนนี้เล่าที แม้ตัวตนจริงๆ อย่าง ชาย เมืองสิงห์ ยังอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะจำได้หมดทุกเรื่อง บางเรื่องก็คลาดเคลื่อน บางเรื่องก็เลือนๆ ไปแล้ว ต้องไปหว่านล้อมหาจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบกันเข้าไปอีกที

พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ตอนนี้ ผมพาบุกไปถึง บ้านของ พี่เบิ้ม ตลาดพลู หรือ พี่อารมณ์ คงกระพัน เลยทีเดียว เสียดายว่าผมหารูปของ พี่เบิ้ม ไม่ได้ ใฅรรู้จักและมีรูปภาพของท่าน ได้โปรดเมตตาส่งให้ผมบ้าง โพสต์เพิ่มเติมมาในคอมเมนท์นี้เลยก็ยิ่งดี เราจะได้เห็นหน้าค่าตาของผู้มีพระคุณฅนแรกที่กล้าผลักดัน สมเศียร พานทอง หรือ ลิงแดง ให้ได้เข้าวงดนตรีคณะจุฬารัตน์ เพราะถ้าแกไม่รวบรวมเงินทองของแกทั้งยังเงินของบรรดาเด็กวัดราชคฤห์ ตลาดพลู ไปจ้างวงดนตรีคณะจุฬารัตน์มาเล่นที่ตลาดพลู วงการเพลงลูกทุ่งก็จะไม่มี ชาย เมืองสิงห์ เกิดขึ้นแน่นอน

เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ เกิดขึ้น เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ ครับ ที่ โรงภาพยนตร์ศรีนครธน ( วิกสูง ) ไม่ใช่ โรงภาพยนตร์ศรีตลาดพลู ( วิกเตี้ย ) ที่เข้าใจผิดมาเนิ่นนาน ขนาด พี่ชาย เมืองสิงห์ เองยังสับสน

ที่นี่แหละครับ ที่ ลิงแดง ได้โต้แหล่ประชันกับ พร ภิรมย์ เป็นครั้งแรก ในการแสดงของวงดนตรีคณะจุฬารัตน์ รอบบ่าย ครับ ถ้า พี่เบิ้ม ไม่ไปขอร้องทางวง ลิงแดง ก็คงไม่ได้ขึ้นเวที ถ้าวันนั้น ฅรูมงคล อมาตยกุล อยู่ด้วย ยังไม่รู้หมู่หรือจ่าเลยว่าฅรูจะอนุญาตหรือไม่ พอดี ฅรูมงคล ไม่อยู่ ฅรูนคร ถนอมทรัพย์ หรือ กุง กาดิน ในฐานะรองหัวหน้าวงเป็นผู้อนุญาต เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เลยเกิดขึ้น โดยที่ พร ภิรมย์ ยอดนักร้องผู้ยิ่งใหญ่ก็ให้ความร่วมมือ มีเมตตาต่อเด็กอย่าง ลิงแดง ว่ากันว่า เหตุการณ์วันนั้น เด็กวัดราชคฤห์ รวมไปถึง พี่น้องชาวตลาดพลูพากันแห่แหนตีตั๋วเข้าไปดูไปเชียร์ ลิงแดง ชนิดเนืองแน่น วิกแทบแตก ทีเดียว

ฅรูมงคล อมาตยกุล มาถึง โรงหนังวิกสูง ทีหลัง ไม่ได้เห็นเหตุการณ์และไม่ได้ยินการร้องแหล่โต้สดๆ ฅรูเลยไม่เชื่อ จึงอยากพิสูจน์ความจริงอีกครั้ง ท่านเลยเอ่ยปากท้าทาย พี่เบิ้ม และ ลิงแดง ว่า ถ้าแน่จริง วันที่ ๑๐ กันยายน พากันไปเจออีกทีที่ สถานีวิทยุ ปชส.๗ เทศบาลนครกรุงเทพ เชิงสะพานพุทธ ฝั่งธนบุรี เวลา บ่ายโมงตรง เดี๋ยวจะให้ขึ้นดวลแหล่สดๆ กับ พร ภิรมย์ อีกครั้ง คราวนี้ออกอากาศสดๆ ไปทั่วประเทศไปเลย ถ้ากล้าจริง เจ๋งจริง จะรับเข้าคณะจุฬารัตน์

ทั้งหมดนี้คือ ประวัติศาสตร์วงการเพลงลูกทุ่ง ที่น่าสนใจครับ และ เป็นหน้าที่ของ เจนภพ จบกระบวนวรรณ จะค่อยๆ รื้อหาหลักฐานมาให้ท่านติดตามกันอย่างสนุกสนานต่อไป

============================================

ติดต่อประสานงานหรือถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

-081-815-4247

ติดตามเจนภพได้ที่

Facebook : เจนภพ จบกระบวนวรรณ
Youtube : สถานีเจนภพ.

คุณดู เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย เสร็จแล้ว หากต้องการดูข้อมูลเพลงเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่นี่: Popasia.net.
นอกจากการดูแทร็กนี้แล้วคุณยังสามารถค้นหาเพลงลูกทุ่งเพิ่มเติมได้ที่นี่: ดูเพิ่มเติมที่นี่

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย.

[vid_tags].

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย.

 เพลง ลูกทุ่ง ประกวด ชาย

ขอแสดงความนับถือ.

10 thoughts on “พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ตอน จุดกำเนิดเกิด ชาย เมืองสิงห์ – เพลงลูกทุ่ง

  1. วราห์ รักเมือง says:

    ได้ฟังอาจารย์เจนภพครั้งแรก จากรายการเพลงทางวิทยุเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2530 ทางสถานีวิทยุ สทร.2 บางนา ซึ่งวันหนึ่งท่านได้เล่าเรื่องราวที่น่าเห็นใจเพราะการป่วยของคุณนิยม มารยาท รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือคุณนิยม ของแฟนเพลงจากการประสานงานของอาจารย์ จากนั้นได้ติดตามการจัดรายการของอาจารย์มาตลอด ทั้งรายการข้าวเกรียบเพลงเก่า ในช่วงเย็น และรายการช่วงดึกประมาณเที่ยงคืน ที่อาจารย์ได้นำคุณชาย เมืองสิงห์ คุณโฆษิต นพคุณ คุณก้าน แก้วสุพรรณและนักร้องลูกทุ่งท่านอื่นๆ มาสัมภาษณ์ถึงประวัติ ที่มาของเพลงต่างๆ นับว่าอาจารย์เจนภพ เป็นผู้ที่รู้ลึก รู้จริง เกี่ยวกับวงการเพลงลูกทุ่งของเมืองไทย

  2. ชิดชนก ชุนณวงษ์ says:

    ดีใจจริงๆเลยค่ะอาจารย์ ที่พ่อชาย เมืองสิงห์ ยังแข็งแรงอยู่ และยังเห็นพ่อชายร้องเพลงให้พวกเราได้ฟัง เพราะศิลปินหลายท่านนัก ที่พวกเราไม่มีโอกาศ ได้เห็นท่านอีกแล้ว

  3. Montri Luangutaisilp says:

    เจาะลึกทุกมิติจริงๆทั้งเรื่องราวจากการปากของอาชายเองแล้ว​ ยังลงพื้นที่ถ่ายสถานที่จริงอีก​… สุดยอดหนึ่งเดียวที่ทำงานด้วยก้นบึ้ง​ของหัวใจทุ่มเทให้งานวงการลูกทุ่ง​ไทย​ ขอคารวะครับ

ใส่ความเห็น