ข้อมูลในบทความนี้จะพูดถึงบิณฑบาตร เขียนอย่างไร หากคุณต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับบิณฑบาตร เขียนอย่างไรมาวิเคราะห์หัวข้อบิณฑบาตร เขียนอย่างไรในโพสต์พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโทนี้.

ภาพรวมของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบิณฑบาตร เขียนอย่างไรในพระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโทที่สมบูรณ์ที่สุด

ชมวิดีโอด้านล่างเลย

ที่เว็บไซต์Pop Asiaคุณสามารถอัปเดตเอกสารอื่น ๆ นอกเหนือจากบิณฑบาตร เขียนอย่างไรเพื่อรับความรู้ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับคุณ ที่เพจPop Asia เราอัปเดตข้อมูลใหม่และถูกต้องให้คุณทุกวัน, ด้วยความปรารถนาที่จะให้ข่าวที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ช่วยให้ผู้ใช้อัปเดตข้อมูลออนไลน์ได้อย่างละเอียดที่สุด.

หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบิณฑบาตร เขียนอย่างไร

#พระให้พรช่วงบิณฑบาตหรือไม่? *อธิบายหลักธรรมเกี่ยวกับการยืนแสดงธรรมแก่ผู้นั่ง และวิธีจัดการให้ไม่ต้องรับโทษด้วยศีลนั้น บทความที่ควรอ่าน * วินิจฉัยการให้พรพระรอบบิณฑบาตที่วัดดอนคำพวง ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี อ่านบทความคำพิพากษาพระวินัยตามความหมายพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฯลฯ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องบางส่วนพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับบิณฑบาตร เขียนอย่างไร

พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

นอกจากการหาข่าวเกี่ยวกับบทความนี้แล้ว พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท คุณสามารถดูและอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมด้านล่าง

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

คำหลักที่เกี่ยวข้องกับบิณฑบาตร เขียนอย่างไร

#พระใหพรตอนบณฑบาตมอาบตหรอไม #FAQ #โดยพระมหาภาคภม #สลานนโท.

พุทธศาสนา,บิณฑบาต,ให้พร,แสดงธรรม,ให้ศีล,พระ,โยม,รับพร,นิมนต์,สิกขาบท,อาบัติ,ทุกกฏ,เคารพ,วินัย.

พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท.

บิณฑบาตร เขียนอย่างไร.

เราหวังว่าการแบ่งปันบางส่วนที่เรามอบให้จะเป็นประโยชน์กับคุณ ขอขอบคุณสำหรับการดูเนื้อหาบิณฑบาตร เขียนอย่างไรของเรา

46 thoughts on “พระให้พรตอนบิณฑบาตมีอาบัติหรือไม่? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท | บิณฑบาตร เขียนอย่างไรข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่าสุดทั้งหมด

  1. นานาวินิจฉัยพระวินัย says:

    #วินิจฉัยเรื่องพระให้พรตอนบิณฑบาต

    ถามว่า พระบิณฑบาต ยืนให้พร โยมนั่งรับพร โยมบาปหรือไม่? พระผิดศีลหรือไม่?

    ตอบว่า หากโยมไม่ได้มีเจตนาจะไม่เคารพธรรม ที่นั่งรับพรเพราะเข้าใจว่านี่เป็นการแสดงความเคารพก็ไม่บาป นอกจากโยมมีเจตนาไม่เคารพธรรม อย่างนี้ก็บาปอยู่แล้ว

    ส่วนพระผู้แสดงธรรม #ไม่ว่าท่านจะรู้สิกขาบทหรือไม่ก็จะต้องอาบัติทุกกฏด้วยฐิตสิกขาบทในเสขิยวัตร ดังมีพระบาฬีว่า
    น ฐิโต นิสินฺนสฺส อคิลานสฺส ธมฺมํ เทเสสฺสามีติ สิกฺขา กรณียา
    แปลว่า ภิกษุพึงทำการศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่ผู้ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่

    (เมื่อภิกษุล่วงละเมิดเสขิยวัตร จะต้องอาบัติทุกกฏ
    เมื่อสามเณรล่วงละเมิดเสขิยวัตร จะเป็นผู้ควรแก่ทัณฑกรรม คือควรถูกลงโทษ)

    ถามว่า การที่พระให้พร ถือเป็นการแสดงธรรมหรือไม่?

    ตอบว่า แล้วแต่ว่าพระให้พรด้วยบทไหน ถ้าให้พรด้วยบทว่า
    อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
    จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
    อย่างนี้ก็จัดเป็นการแสดงธรรมชัดเจน เพราะบทนี้เป็นพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในธรรมบท (อายุวัฒนกุมารวัตถุ) โดยการจะดูว่าเป็นธรรมที่ทำให้ต้องอาบัติหรือไม่ ก็ดูที่ว่าบทนั้นๆ เป็นคำที่อยู่ในพระบาฬีหรือในอรรถกถาหรือไม่ (*#ที่จะเป็นอาบัตินี่เอาเฉพาะภาษาบาฬี) แต่ถึงแม้คำที่พระใช้ให้พรบางบทถึงจะเป็นภาษาบาฬีก็จริง แต่เป็นคำที่แต่งขึ้นมาในสมัยหลัง เช่น ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เป็นต้น อย่างนี้ก็ไม่มีอาบัติถึงแม้จะยืนแสดงแก่บุคคลที่นั่งอยู่ก็ตาม

    (*จะอธิบาย #พุทธภาษิตเป็นต้นที่เป็นเหตุแห่งอาบัติในสิกขาบทนี้ ไว้อย่างละเอียดใต้โพสต์นี้)

    *#ในสมัยพุทธกาลไม่ปรากฏธรรมเนียมการให้พรขณะบิณฑบาตเช่นนี้ ที่พบบ้างในอรรถกถาธรรมบทจะเป็นกรณีที่โยมตั้งความปรารถนาออกมาให้พระได้ยินแล้วพระก็ตอบไปว่า เอวํ โหตุ (ขอจงสำเร็จตามที่ปรารถนาเถิด) [ที่มีกล่าวเช่นนี้มักพบในกรณีพระปัจเจกพุทธเจ้า] แต่ในครั้งพุทธกาลจะมีธรรมเนียมการอนุโมทนาในโรงฉันอยู่ ซึ่งก็แสดงว่าภิกษุต้องมีการนั่งอยู่บนอาสนะอย่างเรียบร้อย

    ***ถึงแม้การยืนแสดงธรรมเป็นภาษาไทยแก่ผู้ที่นั่งอยู่จะไม่ทำให้ต้องอาบัติก็จริง แต่ภิกษุก็ไม่ควรทำ เพราะจัดว่าไม่เคารพธรรม หากนั่งทั้งสองฝ่ายหรือยืนทั้งสองฝ่ายจะเหมาะสมกว่า

    หมายเหตุ : จริงๆ วิธีป้องกันอาบัติเรื่องยืนแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่นี้ไม่ได้ยากอะไรเลย แค่ให้โยมยืนเท่านั้นเอง หรือไม่พระก็ให้พรด้วยบทที่ไม่เป็นอาบัติ เช่น ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เป็นต้น ฉะนั้น ไม่ต้องไปเคร่งเครียดอะไร และบทความนี้ก็ไม่ได้มีถ้อยคำตำหนิพระที่ยืนให้พรแต่อย่างใดด้วย

    พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

    จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
    ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

  2. ` JuiceZ says:

    สิกขาบท กลุ่มนี้มุ่งแสดงธรรมต่อผู้ที่เคารพในธรรม ในอินเดียสมัยนั้น การนั่งฟังธรรมในขณะที่พระยืนถือว่าเป็นการไม่เคารพ ต่างจากไทยในปัจจุบันการนั่งในขณะรับพรหรือฟังธรรมในขณะที่พระยืนคือการแสดงความเคารพ มองที่เจตนามีแต่ให้เกิดกุศล บริบทแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันถ้าจะวินิจฉัยต้องมองให้รอบๆทุกมุมไม่ใช่หรือครับ

  3. ทำปาย....ด้าย says:

    พระบวชใหม่เจอบังคับต้องท่องบทสัพพีตลอด ไม่รุ้จะบังคับทำพ่…มึงหรอ เอาเวลามาท่องจำไปกวาดลานวัด ศึกษาธรรมมะอื่น
    จ้องแต่จะท่องให้สวยหรูดูดี เพื่อรอปัจจัยใง
    เจอมากลับตัว
    ตั้งใจบวชให้พ่อจะสวนมนต์ต่อหน้าพระพุทธรุป แต่เจอพระบางรูปมานั่งบังคับ เดี๋ยวจะเกลือแต่รุปหน้างาน….ค

  4. ธนภณ ทองแก้วโบราณ says:

    ถาม พระให้พร ยะถาสัพพี
    ยะถาสัพพี คำใครแต่ง.
    พระพุทธเจ้าตรัส พระองค์ไม่ให้พร
    แล้วไงครับ
    พระพุทธเจ้า ตรัส
    ให้กล่าวอนุโมทนา นะที่ฉัน ใช่ไหมครับ

  5. Nj Mobile says:

    แล้วทำไมคณะปกครองสงฆ์​ ไม่ออกคำสั่งให้พระปฏิบัติให้ถูก​ ในการให้พรโยมตอนบิฑบาตร​ ออกข้อห้ามให้พระปฏิบัติให้ถูกตามพระธรรมวินัย
    วัดมีกี่วัดมีหนังสือคำสั่งลวไปให้พระทำให้ถูก
    *ส่วนกิริยาโยมเจตนาเพื่อเคารพ​ ไม่ใช่มีเจตนาให้พระต้องอาบัติ​ พระท่านอาจไม่รู้​ เพราะไม่ได้ศึกษา​ เจตนาพิจารนาเท่านั้น​ เหมือนข้ออาบัติปราชิก​ พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นหลังจากนางภิกษุณีโดนอดีตคนรักล่วงละเมิดใช่มีมาแต่เดิมแรกบวชมีแค่การให้ละแต่ยังไม่มีบทลงโทษ
    (เ่ท่าที่โยมเคยได้ฟังมา​ ไม่ได้มีเจตนาแย้งพระคุณเจ้า​ โยมไม่ได้ศึกษาโดยตรง)​

  6. คุณยาย ติ๊ก says:

    การที่ชนชาวพุทธใส่บาตรกับพระที่ละเมิดศิลเป็นอาจินแต่ภายนอกยังคงปฏิบัติตนเหมือนไม่ผิดแค่สาธุชนติเตียนแล้วได้บุญใหมหรือแต่ผลการให้ทานทั่วไป

  7. SO WNL says:

    ก็เราสืบทอดมาแบบประเพณี
    แต่ว่าถ้าเอาตามพระธรรมวินัยมันก็เป็นแบบนี้แหละครับ
    แล้วคำถามก็คือเราจะเอาตามประเพณีหรือจะเอาตามพระธรรมวินัยแบบเป๊ะ อันนี้เป็นคำถามที่น่าคิดครับ
    คือบุญน่ะมันได้ตอนที่ทำเสร็จแล้วมันก็ได้เลย
    ไม่ต้องให้พระท่านสวดอนุโมทนาอะไรหรอก ทำแล้วมันก็ได้เลย

  8. Win Win says:

    พุทธองค์.ตรัสไว้ว่า.ในอนาคตกาล..(หมายถึง.ในยุคปัจจุบันี้..).ภิกษุจะเคร่งครัดในพระธรรมวินัยข้อเล็กน้อยแต่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากใส่ใจมาก..แต่กลับย่อหย่อนในพระธรรมวินัยที่เป็นเรื่องสำคัญว่าไม่สำคัญ..(ทำนองนี้นะ).นี่ก็ได้เห็นกันบ้างแล้วนะครับท่าน..แต่ยังดีที่พระศาสดา.ก่อนที่จะเสด็จปรินิพพาน..ได้ยินว่า..พระองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุประชุมสงฆ์ยกข้อพระวินัยที่เล็กน้อยได้ไม่เป็นอาบัติ..นะขอรับท่าน.ประมาณนี้

  9. Kuk Kuk says:

    ยอมอาบัติค่อยไปปลงอาบัติเอา
    แต่ไม่ยอม อดตายครับอาจารย์ แถวนี้ถูกปลูกฝังให้พรตอนบิณฑบาต
    มาเป็นพันๆปี พระมีมากมาย ท่านไม่ให้พร อดสิครับ วัดเยอะแปดริ้ว

  10. prasoet suriyawong says:

    การให้พรโยมที่ใส่บาตรแต่ละภาคมันไม่เหมือนกัน.ทุกภาคมันก็มีสัญลักษณ์การให้พรเป็นของแต่ละภาคแต่ละชุมชน.เช่นภาคเหนือการให้พรมันเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของภาคเหนือ.อย่างท่านถือเครางครัดอย่างนี้รับรองไปอยู่ที่ภาคอื่นรับรองอยู่ได้ไม่นานหรอก.อย่างเช่นภาคเหนือถ้าท่านให้พรที่ญาตโยมมาทานขันข้าวไม่ได้ท่านก็อยู่ลำบากหรืออยู่ไม่ได้หรอกเชื่อเหอะ.ทุกอย่างมันย่อมมีอนุโลม.ปฏิโลม.ทำนองเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม.อย่างท่านเนี่ยนะมาอยู่ภาคเหนือรับรองอดแดก(อดตาย)

ใส่ความเห็น